ยินดีต้อนรับเข้าสู่เทศบาลตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 
สายตรงท่านนายก










facebook





ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร









งานการเจ้าหน้าที่

การสำรวจข้อมูลออนไลน์

คู่มือประชาชน

กองทุนหลักประกันสุขภาพ

ข้อมูลย้อยหลัง

ร้องเรียนทุจริต

ร้องเรียนร้องทุกข์

ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงใหม่

สถิติการเกิดอุบัติเหตุ

สำรวจความพึงพอใจ

ติดตามข้อมุลข่าวสารโควิด-19

ข่าวสารอาเซียน

ระบบจัดซื้อจัดจ้าง

ตรวจเช็คอีเมล์

ระบบจัดการบริหารเว็บไซต์

e-service

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว




1
วัดดอนจั่น,เทศบาลตำบลท่าศาลา,tazala.go.th

ประวัติวัดดอนจั่น

        ตั้งอยู่บ้านดอนจั่น หมู่ที่ ๔ ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๖๐ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๖๒๒๑๘ อาณาเขตทิศเหนือประมาณ ๖๐ วา จดทางสาธารณประโยชน์ทิศใต้ประมาณ ๖๕ วา จดทางสาธารณประโยชน์ ทิศตะวันออกประมาณ ๗๐ วา จดทางสาธารณประโยชน์ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถศาลาการเปรียญ วิหาร กุฏิสงฆ์ โรงฉัน หอพระไตรปิฏกและหอระฆัง วัดดอนจั่นสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้พระราชทานวิสุงคามสึมา เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๔๗๐ เขตวิสุงคามสึมากว้าง ๑ เส้น ๑๗ วา ยาว ๒ เส้น ๑ ศอก การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ ๑ ครูบาอินตา คันธวังโส รูปที่ ๒ พระเงิน มหาวันแจ่ม รูปที่ ๓ พระอธิการอานันท์ อานันโท ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นต้นมา โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็กกำพร้า เด็กยากจน เด็กด้อยโอกาศ เปิดสอน พ.ศ. ๒๕๒๘ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนประถมตั้งอยู่ในที่ดินวัด

---------------------------------------------------------------

-

วัดบวกครกหลวง,เทศบาลตำบลท่าศาลา,tazala.go.th

       วัดบวกครกหลวง เป็นวัดที่มีความเก่าแก่วัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้นในยุคสมัยใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด ความโดดเด่นของวัดบวกครกหลวงอยู่ที่วิหารทรงล้านนา ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังคาเครื่องไม้ จากตำนานประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่กล่าวถึงลักษณะที่ตั้งของชุมชนบวกครกหลวงว่าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเวียงเชียงใหม่ระหว่างแอ่งที่ลุ่มลำน้ำปิงกับลำน้ำแม่คาว จนกลายเป็นที่มาของชื่อชุมชนและชื่อวัดในเวลาต่อมา แม้จะปรากฏหลักฐานจากคำบอกเล่าว่า เดิมชื่อของวัดแห่งนี้คือ “วัดม่วงคำ” แต่ชาวบ้านทั่วไปก็มักนิยมเรียกในสมัยของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 9 (ระหว่าง พ.ศ.2452-2482) ได้ทำการบูรณะวิหาร     วัดบวกครกหลวง โดยเฉพาะจากเจ้าราชภาคิไนย(แผ่นฟ้า) บิดาของเจ้าจามรี ชายาของเจ้าแก้วนวรัฐ ได้ทำการบูรณะวิหารครั้งใหญ่ ซึ่งปรากฏหลักฐานที่หน้าบัน ระบุปีพ.ศ.2468 ซึ่งเป็นปีที่บูรณะ และต่อมามีการบูรณะอีกครั้ง        ในปีพ.ศ. 2498 มีการเทพื้นวิหารและซ่อมแซมโครงสร้างภายใน

          จุดเด่นของวัดบวกครกหลวงอยู่ที่ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังในวิหาร เขียนเรื่องราวพุทธประวัติและชาดกในนิบาต จำนวน 14 ห้องภาพ โดยฝีมือช่างไตชาวล้านนา ความสวยงามของภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกได้รับการยกย่องจาก น.ณ.ปากน้ำว่าเป็นภาพเขียนที่ใช้สีสันสดใสจัดจ้าน ท่าทีการใช้แปรงเหมือนกับภาพเขียนของอัครศิลปินผู้ยิ่งใหญ่อย่างแวนโก๊ะ จิตรกรแนวอิมเพรสชั่นชาวดัตซ์ ต่อมา สน สีมาตรัง ได้ทำการศึกษาจิตรกรรมฝาผนังของวัดในล้านนา โดยเฉพาะที่วัดบวกครกหลวงอย่างละเอียดพบข้อมูลที่น่าสนใจคือ จิตรกรรมฝาผนังในล้านนาไม่พบการเขียนทศชาติครบทั้งสิบพระชาติ แต่จะมีการเลือกมาเฉพาะตอนที่นิยมเพียงบางเรื่องเท่านั้นทว่าที่วิหารวัดบวกครกหลวงมีการเขียนเรื่องทศชาติชาดกมากที่สุด คือมี 6 พระชาติคือ เตมิยชาดก สุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดก มโหสถชาดก วิฑูรชาดกและเวสสันดรชาดก ซึ่ง สน สีมาตรังสันนิษฐานอายุว่าประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 24

          ตามสภาพภูมิศาสตร์ของชุมชนว่า “วัดบวกครกหลวง”ที่น่าสังเกตคือ เส้นพู่กันที่ป้ายมีพละกำลังแฝงอยู่ภายในด้วย รอยพู่กันแสดงอารมณ์ที่ลิงโลด   คึกคะนอง สนุกสนาน และยังพบอีกว่าช่างชาวล้านนารู้จักใช้พู่กันแต้มสีแท้เป็นดวง ๆ อย่างหยาบ ซึ่ง สน สีมาตรัง ระบุว่ายังไม่เคยพบวิธีการเช่นนี้   ในจิตรกรรมฝาผนังที่ไหนเลย เมื่อเทียบกับภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดป่าแดดและวัดพระสิงห์ ซึ่งไม่มีการใช้พู่กันป้ายปาดอย่างกล้าหาญ สภาพของเส้นทั่วไปจึงดูจืดชืดกว่าวัดบวกครกหลวงมากนอกจากนั้นแล้ววิธีการเน้นความน่าสนใจของภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงคือ นิยมใช้กรอบรูปคล้ายภูเขา ระบายสีพื้นในด้วยสีดำขอบนอกเป็นแถบสีเทาและตัดเส้นด้วยสีดำ ส่วนเส้นนอกกรอบเลือนไหลล้อกับรูปนอกของตัวปราสาท จิตรกรรมฝาผนังของวัดบวกครกหลวง จังหวัดเชียงใหม่ถือได้ว่าเป็นผลงานระดับมัสเตอร์พีซของฝีมือช่างสกุลล้านนาที่บรรจงแต่งแต้มเรื่องราวทางพุทธชาดกเอาไว้อย่างยอดเยี่ยม ใครก็ตามที่ไปเยือนเมืองเชียงใหม่แล้วไม่ได้เที่ยววัดบวกครกหลวง เหมือนกับที่มาเที่ยวเชียงใหม่แล้วไม่ได้ไป ดอยสุเทพสำหรับผู้สนใจสามารถเข้าชมภาพจิตรกรรมของช่างชาวล้านนาอายุ 100 กว่าปีได้ที่ วัดบวกครกหลวง ต.ท่าศาลา อ.เมือง ใช้เส้นทางสายอำเภอสันกำแพงเดิม

---------------------------------------------------------------

-

วัดสันทรายดอนจั่น (สำนักสงฆ์มิ่งมงคล),เทศบาลตำบลท่าศาลา,tazala.go.th

       วัดสันทรายงามมิ่งมงคล สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2547-2548 โดยแยกมาจากวัดดอนจั่น เพราะถูกถนนตัดผ่านทำให้ไม่สะดวกในการเดินทาง ไป-มา ก่อนที่จะมีการตัดถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ บริเวณดังกล่าวนี้เป็นของศรัทธาวัดดอนจั่น แต่หลังจากตัดถนนผ่านทำให้ชาวบ้านที่แต่เดิมเดินทางไปวัดดอนจั่นต้องลำบากในการสัญจรไป-มา จึงได้ตั้งที่แห่งนี้เป็นสำนักสงฆ์ขึ้นเพื่อให้ชาวบ้านได้มาทำบุญได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

---------------------------------------------------------------

-

วัดศรีบัวเงิน,เทศบาลตำบลท่าศาลา,tazala.go.th

          วัดศรีบัวเงิน ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 ต.ท่าศาลา อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ หอธรรม (พระไตรปิฏก) แห่ง วัดศรีบัวเงิน มีหอธรรม อยู่ด้าน ซ้ายมือ ของประตูทางเข้า-ออกด้านทิศเหนือได้สร้างขึ้นมาเมื่อ พ.ศ.2500  ปัจจุบันมีอายุครบ 63 ปี ภาพ จิตรกรรมฝาผนัง เหนือ ประตูทางเข้า พระวิหาร วัดศรีบัวเงิน บอกเล่าเรื่องราวพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า

ประวัติวัดศรีบัวเงิน

          ประวัติวัดศรีบัวเงิน ปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ 149  หมู่ 2 ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ที่ดินทั้งหมด มีเนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา วัดศรีบัวเงินตั้งขึ้นเมื่อปี พุทธศักราช 2440 ทางวัดศรีบัวเงินได้มี เจ้าอาวาส พระภิกษุ และสามเณร อยู่จำพรรษาตลอดมา

          จากการบอกเล่า จากผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าว่า คณะศรัทธาตลอดจนประชาชน พร้อมด้วยเจ้าอาวาสในขณะนั้นได้มีการหารือกันเพื่อขอพระราชทาน วิสุงคามสีมาเสียใหม่จากเดิมคือ วัดป่าแดด เหตุที่ชาวบ้านในบริเวณนั้นได้เรียกวัดป่าแดด เพราะในบริบทมีเพียงทุ่งนา และมีบ้านเรือนของประชาชนอยู่อาศัย ซึ่งในอดีตเวลาเดินทางสัญจรก็จะเห็นเป็นเปลวแดดร้อนระอุ เมื่อมีการหารือและมีการเสนอเรื่องขอพระราชทานวิสุงคามสีมาได้ในปี พุทธศักราช 2488 โดยในปีดังกล่าวเจ้าอาวาในขณะนั้นดำรงตำแหน่งโดย พระครูบุญรัตน์ สุวิชาโน พร้อมคณะศรัทธาและประชาชนได้ไปเข้าหารือกับ ท่านเจ้าคุณพระเทพวิสุทิคุณ แห่งวัดทุงยูในขณะนั้นได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ โดยท่านเจ้าคุณได้ให้ความเห็นสมควรว่า ทางวัดป่าแดดในเวลานั้นสมควรเปลี่ยนชื่อใหม่ และได้มีการเสนอชื่อ วัดสะหลีบัวเงิน  เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชาวบ้านในแถบนั้น เหตุที่ให้ชื่อใหม่ว่า  สะหลีบัวเงินนั้นเพราะว่า ในอดีตทางด้านหน้าวัดได้มีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่และทางด้านทางทิศตะวันตก ซึ่งทางคนล้านนาได้เรียกว่า ต้นสะหลี ซึ่งตอนนี้ทางต้นโพธิ์ทั้งสองต้นได้หมดอายุไขลงไปแล้ว และทางหน้าวัดได้มีสระบัวขาวอยู่ทางด้านหน้าวัด ทางท่านเจ้าคุณจึงนำจุดเด่นทั้งสองมาตั้งชื่อเสียใหม่จนมาเป็นวัดสะหลีบัวเงิน ขึ้นมา โดยทางวัดได้มีการจัดงานฉลองวิสุงคามสีมา ชื่อวัดใหม่ และได้มีการยกช่อฟ้าหอธรรม ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2498 พร้อมทั้งทางท่านเจ้าคุณพระเทพวิสุทิคุณ แห่งวัดทุงยูได้รับนิมนต์มาเป็นประธานสงฆ์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชาวบ้าน ต่อมาชาวบ้านในหมู่บ้านอื่นๆได้เข้ามาอยู่ในเขตหมู่บ้านท่าศาลามากขึ้นจึงได้มีการเรียกกร่อนคำอ่านลง จากสะหลีบัวเงิน เป็น “ศรีบัวเงิน” ในปัจจุบัน

---------------------------------------------------------------

-

การสนับสนุนหรือจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวหรือสวนสาธารณะ ที่อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของอปท,เทศบาลตำบลท่าศาลา,tazala.go.th

---------------------------------------------------------------

-

1

ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 / 1  (5 รายการ)

สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 11/12/2561
วันนี้
186
เมื่อวานนี้
434
เดือนนี้
3,688
เดือนที่แล้ว
13,722
ปีนี้
130,651
ปีที่แล้ว
110,183
ทั้งหมด
488,367
ไอพี ของคุณ
44.212.94.18
สถิติการเข้าชมเริ่มวันที่ วันนี้ เมื่อวานนี้ เดือนนี้ เดือนก่อน ปีนี้ ปีก่อน ทั้งหมด ไอพี ของคุณ
1/4/2019 186 434 3,688 13,722 130,651 110,183 488,367 44.212.94.18
-->