|
เทศบาลตำบลท่าศาลา เมืองน่าอยู่
1. วิสัยทัศน์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน เทศบาลตำบลท่าศาลามีเส้นทางการคมนาคม ขนส่งสัญจรไปมาให้มีความสะดวก สบาย ระบบการระบายน้ำ การสาธารณูปโภค การสาธารณูปการที่ครบครัน สมบูรณ์พร้อมที่จะให้เป็นสวัสดิการแก่ ชุมชน จัดหา ซ่อมแซม ทะนุบำรุง เครื่องมือ อุปกรณ์ เพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงาน เพื่อการบริการอัยประทับใจ
2. วิสัยทัศน์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ เทศบาลตำบลท่าศาลาจัดให้มีความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ ประชาชนมีอาชีพ มีปลักประกันที่มั่นคง มีรายได้ทั่วถึงและเป็นธรรม การค้าเสรี และการอุตสาหกรรมในครัวเรือน รุ่งเรืองทั้งเป็นเทศบาลตำบลที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ปลอดสารเคมี และปลอดสารพิษแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3. วิสัยทัศน์การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองการบริหารท้องถิ่นในทุกรูปแบบ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการเมืองการบริหารในระดับจุลภาพและระดับมหภาค สามารถจัดการบริหารการจัดการพัฒนาท้องถิ่นชุมชนของตนเองได้ โดยไม่ต้งอพึ่งองค์กรของรัฐบาลได้ให้ความเคารพกฎหมายและระเบียบอื่นๆ ของสังคม
4. วิสัยทัศน์การพัฒนาด้านสังคม เทศบาลตำบลท่าศาลา พัมนาส่งเสริม ทะนุบำรุงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนได้รับความอบอุ่นให้กับสถาบันครอบครัว ประชาชนได้รับการพัฒนาด้านกีฬา ปลอดจากยาเสพติด ชุมชนสามารถนำหลักธรรมทางศาสานาร่วมใช้ชีวิตทางสังคมได้
5. วิสัยทัศน์การพัฒนาด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลท่าศาลา พัมนาส่งเสริม อนุรักษ์ บำรุงรักษา พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ โดยเน้นการมีส่วนร่วมการพัฒนาในการดูแลรักษาของประชาชนในท้องถิ่น ประชาชนมีจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมีความนิยมที่เป็นไทย เหมาะสมและสอดคล้องกับการพัฒนาด้านต่างๆ บ้านเรือน ชุมชนสะอาด ถูกสุขอนามัย น่าอยู่อาศัย
ภารกิจหลักในการพัฒนา
1. การพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มีความเข้มแข็ง โดยได้รับบริการสาธารณะโครงสร้างพื้นบานที่จำเป็น เพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจ
2. พัฒนาชุมชนให้รู้จักพึ่งตนเองแบบเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรผสมผสาน และแนวทางเกษตรอินทรีย์วิถีสุรินทร์
3. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของคน ครอบครัวและชุมชนในการพึ่งตนเองตลอดจนอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
4. สนับสนุน ส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพ สู่ธุรกิจชุมชนมีผลผลิตที่เป็นเอกลักษณ์สามารถเชื่อมโยงตลาด และเกิดการจ้างแรงงานและรายได้
5. ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่สังคมแห่งการเรียนรู้ ควบคู่กับวิทยากรสมัยใหม่
6. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่มีและมีส่วนร่วมจากทุกส่วน
วัตถุประสงค์
สร้างสังคมและชุมชนให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีสายใยความสัมพันธ์แบบเอื้ออาทรต่อกัน เคารพกฎหมาย การบริหารจัดการแบบบูรณษการ ส่งเสริมการค้าและการพัฒนาระบบการผลิตทางการเกษตร แบบพอเพียงสามารถพึ่งตนเองได้
เป้าหมาย
สังคมและชุมชนเกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน แระชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นระบบเศรษฐกิจมีความสมดุลตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีการจ้างงานอย่างกว้างขวาง ชนบทและเมืองมีการเชื่อมโยงอย่างเหมาะสมและเป็นระบบ ชุมชนมีความเข้มแข็งและตระหนักถึงความจำเป็นในการมีส่วนร่วมในการพัฒนา ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการวางแผนทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ